โครงงาน วิชาคอมพิวเตอร์

บล็อกแสดงการเรียนการสอน

การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของเรา

ผลจากการกระทำของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมนุษย์ได้มีบทบาทในการทำให้สภาพแวดล้อมเสียไป ทั้งโดยความจงใจและ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากกิจกรรมของมนุษย์ และจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อย่างไม่คำนึงถึงผลเสียที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามมามากมาย ดังนี้

1. มลพิษทางอากาศ หรืออากาศเป็นพิษ ซึ่งเกิดจากการที่ในอากาศมีปริมาณของออกซิเจนน้อย แต่มีส่วนผสมของฝุ่นละอองและสารอื่นๆ ปะปนอยู่มาก ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายของคนเรา

2. มลพิษทางน้ำ หรือน้ำเสียส่วนใหญ่ เกิดจากการทิ้งสารพิษลงในแหล่งน้ำ เช่น ขยะ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ทำให้น้ำเน่าเสีย นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค สัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย

3. ปัญหาเกี่ยวกับดิน มีหลายประการได้แก่ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะการใช้ดินที่ผิดประเภท ดินเน่าเสียเพราะการทิ้งขยะและสารเคมี ดินจืดเพราะขาดปุ๋ย เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำๆ ในพื้นที่เดิมการแก้ปัญหาและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นแนวทางการแก้ปัญหาและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1) สร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมแก่ประชาชน และบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น

2) ให้คนในท้องถิ่นหรือในชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง

3) ปลุกจิตสำนึกของคนในท้องถิ่นให้มีความรู้สึกรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อจะได้ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

4) ร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น เช่น โครงการปลูกป่า ทดแทน โครงการปลูกป่าชายเลน



การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน

จากข้อเสนอสมัชชาสุขภาพจังหวัดสู่ข้อบัญญัติท้องถิ่น

การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากทรัพยากรชายฝั่งเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวประมงพื้นบ้านกว่าหมื่นครอบครัว และเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพสูงที่สุดสะอาดราคาถูกให้กับคนนครและส่งไปยังจังหวัดอื่นๆ ด้วย แต่ปัจจุบันทรัพยากรชายฝั่งลดลงอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ที่สำคัญคือ การทำประมงแบบทำลายล้าง มุ่งกอบโกยเอาสัตว์น้ำให้มากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงการทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน สัตว์น้ำที่กำลังวางไข่ และผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดจึงได้นำประเด็นดังกล่าวสู่การขับเคลื่อนผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ

การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ประเด็น “การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน” เริ่มจากการศึกษาสถานการณ์การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง: องค์กรชุมชนกับการฟื้น ‘เลหน้าบ้าน’ การร่วมเรียนรู้บทเรียนจากพื้นที่เล็กๆ สู่การตอบคำถามสำคัญของสังคมเรื่องรูปแบบบ้านสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วม และการศึกษานโยบายรัฐที่เอื้อต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจากประสบการณ์การเรียนรู้นับกึ่งทศวรรษของชุมชนบ้านสระบัว ประกอบกับการร่วมศึกษาและพัฒนาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งร่วมกับภาครัฐ/ท้องถิ่น ประมงจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นปากพูนและท่าศาลา นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สำคัญสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน และมีการร่างข้อเสนอเชิงนโยบายใน ๔ ระดับ คือ ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ โดยเฉพาะข้อเสนอต่อท้องถิ่น ที่มีข้อเสนอสำคัญ ๕ ข้อ คือ ๑) ออกกฎระเบียบ ข้อบัญญัติโดยศึกษาข้อมูลทางวิชาการรองรับ เช่น การวิจัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ๒)สร้างกลไกสนับสนุน ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากร ๓)จัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรชุมชน โดยให้อิสระแก่ชุมชนในการกำหนดการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์และความเข้มแข็งของชุมชน ๔)จัดตั้งหน่วยที่รับผิดชอบ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร และให้มีส่วนร่วมจากชุมชน เช่น การปราบปรามและการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย การเฝ้าระวัง (โดยมีเครื่องมือสื่อสารวิทยุ) และ ๕) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ (บ้าน) ในบริเวณชายฝั่งตามศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่ โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสัญจรทางน้ำ

ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ประเด็น “การจัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน” ถูกนำเข้าพิจารณาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพิจารณาแบบมีส่วนร่วมจากสมาชิกเครือข่าย องค์กร และหน่วนงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ ภาคส่วน ในสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๕๕๑ ที่มีการจัดห้องย่อยพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบายพร้อมๆ กับร่างข้อเสนอเชิงนโยบายอีก ๒ ประเด็น คือ เกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ และอาสาสมัครสร้างสุขชุมชน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมีการมอบข้อเสนอที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ต่อตัวแทนภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคท้องถิ่น และมีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมของชาวนครศรีธรรมราชในเวทีด้วย

จากข้อเสนอเชิงนโยบายที่ผ่านการรับรองในสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี ๒๕๕๑ ในปี ๒๕๕๒ คณะทำงานสมัชชาสุขภาพประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ได้ดำเนินการเพื่อติดตามผลักดันข้อเสนออย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลสำเร็จที่ผ่านมา คือ การทำ “บ้านปลา” ทั้งบ้านชั่วคราวและบ้านถาวร และการใช้ระเบิดชีวภาพเพื่อปรับปรุงสภาพหน้าดิน และที่สำคัญคือการผลักดันให้มีการออกข้อบัญญัติ อบต.ท่าศาลา ว่าด้วย การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา โดยนายก อบต.ท่าศาลาได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหลายภาคส่วนเพื่อยกร่างข้อบัญญัติ และมีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงร่างข้อเสนออย่างต่อเนื่องถึง ๘ เวที (เวทีระดับตำบล ๖ เวที เวทีระดับจังหวัด ๒ เวที) และมีเวทีประชาพิจารณ์ข้อบัญัติ ๑ เวที ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในการประชุมสภาสมัยวิสามัญ ของ อบต.ท่าศาลา ซึ่งข้อบัญญัติดังกล่าวผ่านการรับรองเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๒๙ เสียง จากสมาชิกสภา อบต. ๓๐ คน เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ โดยในการออกข้อบัญญัติ มีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ภายใต้นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเน้นที่ ๓ จุดหลัก คือ ๑) กระบวนการเฝ้าระวังแบบมีส่วนร่วม ๒)การออกกติกา ข้อบัญญัติ ประกาศจังหวัด และ ๓)แผนการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง






วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงงาน เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ( ทะเลเราะ )


โครงงาน เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ( ทะเลเราะ )
ผู้จัดทำโครงงาน สมาชิกครอบครัวที่ 2652
อาจารย์ที่ปรึกษา อ. สัมพันธ์ ดำเพ็ง
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากปัจจุบันนี้เกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงและกระทบถึงการเป็นอยู่ของมนุษย์ ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งวิกฤตการณ์ต่างๆเหล่านี้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์พบเจอกับภัยต่างๆ เหตุก็อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มีนิสัยมักง่ายและไม่ใสใจต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ช่วยในการดำรงชีวิต แทนที่มนุษย์จะช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมกลับกลายมาเป็นการทิ้งขว้างและทำลายและส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรแหล่งน้ำ และรวมไปถึงทรัพยากรชายฝั่งทะเล
เราจึงเล็งเห็นถึงผลเสียของจากการทำลายสิ่งแวดล้อมดังนั้นเราจึงได้จัดทำโครงงานการอนุรักทรัพยากรชายฝั่งทะเลขึ้นเพราะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญทั้งในด้านอาชีพ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ดังนั้นเราจึงได้ร่วมมิอกันทำเพื่อที่จะรักษาแหล่งนี้เพื่อที่จะได้คงอยู่และใช้ประโยชน์สืบเนื่องต่อไป
- วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ( ทะเลเราะ )
2. เพื่อเป็นการปรับปรุงทัศนียภาพของชายฝั่งทะเล ให้สะอาดและน่าท่องเที่ยว
3. เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเล
4. เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีแก่ผู้ร่วมทำโครงงานและคนในชุมชน
- เป้าหมาย
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
จากร้านใต้สนถึงหน้าวัดโสภณติธาราม
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ปริมาณขยะที่ทิ้งบริเวณชายหาดลดลง 70%
- สถานที่
บ้านเราะ ม.3 ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
- ระยะเวลา
วันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2553 - วันที่ 31 สิงหาคม พุทธศักราช 2553

- ตารางปฏิบัติงาน

รายการที่1 สำรวจพื้นที่ ระยะเวลา สัปดาห์ที่1

รายการที่2 วางแผนจัดการ ระยะเวลา สัปดาห์ที่1-สัปดาห์ที่2

รายการที่3 เตรียมอุปกรณ์ ระยะเวลา สัปดาห์ที่ 2

รายการที่4 ลงมือปฏิบัติ ระยะเวลา สัปดาห์ที่ 2-3

รายการที่5 สังเกตการณ์ ระยะเวลา สัปดาห์ที่ 4

- ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เป็นการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนได้รักธรรมชาติในท้องถิ่นของตัวเอง

2.ทำให้บริเวณชายทะเลสะอาดขึ้น

3.เกิดความสามัคคี ร่วมกันทำงานภายในกลุ่ม

4.ทำให้สภาพบรรยากาศบริเวณชายหาดน่าสนใจ เหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ

5.เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ รักษา ธรรมชาติ